วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แถบเครื่องมือ(Tool Box ) Photoshop Cs5

Selection : เครื่องมือสำหรับคลิกเลือกวัตถุ

Direct Selection : เครื่องมือสำหรับคลิกเลือกทำงานกับจุดบนเส้น Path


Credit : http://www.edu-mine.com/indesign/lesson1_introindesign.html

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การติดตั้งMicrosoft office 2010

1. เปิดเข้าไปใน Folder Microsoft office 2010 คลิ๊ก Setup

2. คลิ๊กที่ I accept the terms of this agreement และคลิ๊ก Continue

3. ขึ้นChoose the installation you want แล้วเลือก Customize

4. จากนั้นจะขึ้น Installation Option แล้ว เลือกเป็น work คลิก ที่ Intall Now จากนั้นก็เสร็จสิ้นการติดตั้ง

ขั้นตอนการติดตั้งวินโดว์ 7

1. เอาแผ่นเข้าเครื่องแล้วกดที่สตาร์ทแล้วเลือกรีสตาร์ทเครื่อง

2. จากนั้นก็กด F10 แล้วเลือกบรรทักที่2 BOOT Device Priority แล้วก็กด Enter

3. กด F10 และจะขึ้นหน้าจอให้เลือก SAve conf iguration changes and exit now? แล้วก็จะมีตัวเลือกให้คือ Yes กับ Noให้เลือก Yes

4. แล้วเคาะสเปคบาร์ไปเลื่อยๆจะขึ้นหน้าจอ Windows setup [ EMS Enab] ed] แล้วกด Enter soms load

5. จะขึ้นหน้าจอให้เปลี่ยนภาษาหรือให้เลือกภาษา บรรทัดแรกจะเป็น English และบรรทัดที่ สอง ให้เลือก Thai และบรรทัดที่ สาม เลือก Us แล้วคลิกที่ Next

6. ขึ้น Install now คลิก

7. ขึ้น Pleasa redd the license terms แล้วก็ไปเลือกที่ Iaccept the license thrms ที่อยู่ด้านล่าง แล้ว คลิก Next

8. ขึ้น Which type of installation do you want? คือมีตัวเลือก 2ตัว คือเลือกชนิกของการติดตั้งและเลือก Custom (advanced) คือการกำหนดเอง

9. ขึ้น Where do you want to install Windows? ให้เลือกที่ Disk Opartition 1: จากนั้นก็คลิกที่ Drive options ( advanced) จากนั้นก็คลิกที่ Delete แล้วเราก็สร้างขึันมาใหม่โดยเลือกที่ New แล้วเลือก Apply จากนั้นก็คลิกที่ Next

10. ขึ้น Installing Windows จากนั้นมันจะ RUN ตั้งแต่ Copying windows files Expandning windows files Installing features Installing up dates Completing

11. จากนั้นก็จะโชว์หน้าถัดไปคือ Type a username (forexample, John) : ก็คือให้เราใส่ชื่อเครื่องของเรานะค่ะแล้วกด Next

12. ขึ้น Seta pawssword for your account แล้วคลิก Next

13. ขึ้น Type your windows product key ก็คือรหัสของแผ่นวินโดว์นั้นเองแต่เราไม่ต้องใส่แต่เราไปเลือกที่ข้างล่าง คลิกเลือก Automatically activate windows when I'm online แล้วคลิก Next

14. จากนั้นจะขึ้น Help proteet your competer and improve windows automa tically เลือก usse recommended settings

15. ขึ้นให้เราตั้งเวลาเครื่องหรือเลือกโซนเวลา โดยเลือก (UTC 07.00) Bangkok, Hanoi, ) akarta แล้วคลิกที่ Next

16. ขึ้นJoin a wireless network คือให้เลือกสัญญาณแล้วใส่รหัสผ่าน เลือก Skip แล้วคลิก Next

17. ขึ้น Select your computer's current location จากนั้นจะมีตัวเลือกขึ้นมา 3 ตัว ให้เราเลือกตัวที่ 2 คือ work network จากนั้นก็จะขึ้น Setup Windows แล้วจะขึ้น Setup Windows 7 ultimate [02.2010] หลังจากนั้นก็รอจะขึ้นหน้าจอ

18. ไปที่หน้าจอ แล้วคลิกขวา ไปที่ Personalize ด้านล่างสุด เลือกที่ Change destop icons แล้วเลือกที่ Computer และ Network แล้วคลิก Ok ถ้ากรณีหน้าจอใหญ่เกินไปเราก็สามารถไปปรับขนาดได้โดยไปที่ หน้าจอ แล้วคลิกขวาเลือก View เลือก Small icons





















วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักการออกแบบกราฟิก

ความสำคัญของการออกแบบ

การออกแบบ มีอิทธิพลต่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา เกี่ยวข้องกับ ทุกระดับอายุ ทุกเพศ ทุกอาชีพ ทุกคนมีความรักสวย รักงาม ดังสุภาษิตไทยที่ว่า " ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง " เช่น การแต่งกายที่แต่ละคนต่างล้วนเลือกสรรและเลือกอย่างรอบคอบให้เข้ากับบุคลิคและสรีระของตน เริ่มตั้งแต่ ลวดลาย สีเสื้อผ้าจะต้องกลมกลืนเข้ากัน มีผลต่อความสูง ความอ้วน เช่น คนตัวเตี้ยควรจะใส่เสื้อลายเส้นตรงแนวดิ่งที่มีหลายเส้น ส่วนคนอ้วนควรเลือกลายเส้นตรงแนวดิ่งที่มีสามสี่เส้น เน้นสีสดอยู่ส่วนที่เป็นแถบกลางตัว สีเข้มมืดๆอยูแถบข้างลำตัวทั้งสองข้าง เป็นต้น รวมไปถึงเครื่องประดับต่างๆ เช่น แหวน นาฬิกา สร้อยคอ เข็มกลัดติดเสื้อ จนถึงแว่นตา ต้องมีการออกแบบเพื่อให้ถูกใจเหมาะสมผู้ใช้ทั้งสิ้น ถ้ามองไปถึงเก้าอี้นั่ง รูปทรงแบบใดเหมาะกับงานชนิดใด สถานที่ใด เช่น ใช้กับโต๊ะทำงานปกติ ใช้กับโต๊ะคอมพิวเตอร์ ติดตั้งบนรถเก๋ง รถโดยสาร รถไฟฟ้า หรือในโรงภาพยนตร์ การเลือกซื้อรถยนต์ เกินกว่า 70 % เลือกที่รูปทรงและสีของรถ แม้แต่เม็ดยาที่เรากินรักษาโรค ยังต้องออกแบบให้มีสีน่ากิน เคลือบรสหวาน รูปทรงกลม มน กลืนง่าย เป็นต้น

มนุษย์เราให้ความสำคัญในด้านการออกแบบมาก จะเห็นได้ว่าการออกแบบศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่ควบคู่อยู่กับความสุนทรียะของมนุษย์ตลอดมา

» หลักการออกแบบกราฟิก

» องค์ประกอบในการออกแบบ

» การผลิตวัสดุกราฟิก

» การใช้วัสดุกราฟิกประกอบการสอน

» การจัดองค์ประกอบ

หลักการออกแบบกราฟิก THE PRINCIPLE OF GRAPHIC DESIGN

ก่อนที่จะทำงานออกแบบกราฟิกประเภทใดก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนของงาน เพราะช่องทาง รูปแบบและวิธีการ ของการนำเสนอมีมาก มีความรวดเร็ว ไร้ขอบเขต เช่นใน เว็บไซต์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยากในการดำเนินงาน มีผลกระทบต่อการทำงาน เกิดความไม่เป็นระบบ มีการสูญเสียและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรมีหลักการและข้อควรคำนึงก่อนการเริ่มงานเพื่อการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง รัดกุมและวางแผนการดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตลอดจนจบกระบวนการ ไม่มีปัญหาและอุปสรรค

หลักการดำเนินงานออกแบบกราฟิก

หลักการดำเนินงานและการวางแผนขั้นต้นของการออกแบบกราฟฟิกมีดังนี้

1 วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ผู้ออกแบบต้องรู้ว่า จะบอกกล่าว เรื่องราวข่าวสารอะไรแก่ผู้รับรู้บ้าง เช่น ทฤษฎีหรือหลักการ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้ออกแบบต้องรู้วิธีการนำเสนอ (Presentation) ที่ดีและเหมาะสมกับเรื่องราวเหล่านั้นว่ามีเป้าหมายของการออกแบบเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น เพื่อแนะนำ เผยแพร่ เพื่อให้ความรู้ หรือความบันเทิงเป็นต้น

2 กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร แบ่งเป็นเพศ ชาย หญิง ่หรือบุคคลทั่วไป มีช่วงอายุเท่าใด นิสิตนักศึกษาหรือเฉพาะกลุ่มสนใจ ข่าวสารที่ให้มีระดับความยาก-ง่าย หรือมีความเป็นสากลหรือไม่ เฉพาะคนในประเทศหรือชาวต่างชาติ ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นจะต้องรู้และเข้าใจเพื่อวางแผน ดำเนินการกับข่าวสาร ออกแบบ และการนำเสนอให้ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ถูกต้อง

3 สิ่งที่ต้องการบอกคืออะไร หมายถึง วิธีการที่จะสื่อความหมายกับผู้รับรู้หรือกลุ่มเป้าหมาย และถ้าที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า ชัดเจนแล้วก็จะทำให้ผู้ออกแบบมีความสะดวกในการที่จะบอกหรือสื่อความหมายได้ง่ายขึ้น เช่น การเลือกใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพประกอบต่าง ๆสื่อแทนคำศัพท์ ข้อความที่เป็นนามธรรม ได้ตรงตามระดับความสามารถในการรับรู้ของผู้รับ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของข่าวสารนั้น ๆ จำได้ในเวลาอันรวดเร็วและจดจำไว้ตลอดไป

4 นำเสนอข่าวสารด้วยสื่อใด แบบใด ผู้ออกแบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทของสื่อ ศักยภาพของสื่อชนิดต่างๆ คำนึงถึงการเลือกใช้สื่อในการนำเสนอข่าวสารเป็นรูปแบบใด จึงจะได้ผลดีมีความเหมาะสมกับข่าวสาร และผู้ออกแบบควรจะใช้วิธีการจัดการกับข่าวสารนั้น อย่างไร จึงจะสามารถโน้มน้าวจิตใจและสื่อความหมายต่อผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ

การออกแบบกราฟิก ส่วนใหญ่เป็นวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกถึงการสื่อความหมายในลักษณะของตัวอักษรและภาพในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางทัศนสัญลักษณ์ (Visual form) ดังนั้นในการออกแบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยว การมองเห็นและจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง

Credit :http://goleng23.multiply.com/journal/item/6/6

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ความหมายของคำศัพท์ IT

TEXT คือข้อความที่ใช้ในการเก็บหรือส่งเพื่อประมวลผลต่าง ๆ ทางการเขียนโปรแกรม หรือ เป็น TEXTที่มีความก้างเป็นได้สูงสุด 65,535 ตัวอักษร

DATE สำหรับเก็บข้อมูลประเภทวันที่ โดยเก็บได้จาก
1 ม.ค. ค.ศ.1000 -01-01 ถึง 9999 - 12 - 31

SMALLINT สำหรับข้อมูขตัวเลขที่มีขนาด 16 บิต จึงจะสามารถเก็บค่าได้ตั้งแต่ 32768 ถึง 32767 ในกรณีนี้แบบคิดเป็นเครื่องหมาย


วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนในการเขียนโครงการ


1. ชื่อแผนงาน
2. ชื่อโครงการ
3. หลักการและเหตุผล
4. วัตถุประสงค์
5. เป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
8. งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
11. การประเมินผล
12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การวางแผนและการเขียนโครงการ

ความหมายของการวางแผน
มีผู้ให้คำจำกัดความของการวางแผนไว้หลายลักษณะ เช่น การวางแผน คือ การมองอนาคต
การเล็งเห็นจุดดหมายที่ต้องการ การคาดปัญหาเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาทาง
แก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น

การวางแผน เป็นการใช้ความคิดมองจินตนาการตระเตรียมวิธีการต่างๆ เพื่อคัดเลือกทางที่ดี
ที่สุดทางหนึ่ง กำหนดเป้าหมายและวางหมายกำหนดการกระทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์
ที่ตั้งไว้

การวางแผน เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการกำหนดสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การประเมิน
ผลของสิ่งที่กำหนดว่าจะกระทำและกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ
ถ้าจะกล่าวโดยสรุป การวางแผนก็คือการคิดการหรือกะการไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไม
ทำที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และไครทำ

การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
- อนาคต
- การตัดสินใจ
- การปฏิบัติ

ความสำคัญของการวางแผน
ถ้าจะเปรียบเทียบระบบการศึกษากับคน การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามอง
ในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะถ้าสมองไม่ทำงานส่วนอื่นๆของ
ร่างกาย เช่น แขน ขา ก็จะทำอะไรไม่ได้ หรือถ้าคนทำงานไม่ใช้สมอง คือทำงานแบบไม่มีหัวคิด
ก็ลองนึกภาพดูก็แล้วกันว่าจะเป็นอย่างไร คนทุกคนต้องใช้สมองจึงจะทำงานได้ ระบบการศึกษา
หรือการจัดการศึกษาก็่เช่นเดียวกัน ต้องมีการวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิด การเตรียมการ
ว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร

การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น

1. การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมใน
ปัจจุบันแล้ว กำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทาง
ที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญ
พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา

2. การวางแผนเป็นศูนย์กลางประสานงานเช่น ในการจัดการศึกษาเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อ
ประสานงานการศึกษาทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้

3. การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด

4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหารเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่าย
ต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ

ประเภทของแผน

เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้น่าจะพูดถึงประเภทของแผนเสียเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจลักษณะของแผน
แต่ละอย่าง ถ้าจะมองในแง่ของระยะเวลาอาจจะแบ่งแผนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

1. แผนพัฒนาระยะยาว (10 - 20 ปี) กำหนดเค้าโครงกว้างๆ ว่าประเทศชาติของเราจะมีทิศทางพัฒนาไป
อย่างไร ถ้าจะดึงเอารัฐธรรมนูญ และ/หรือแผนการศึกษาแห่งชาติมาเป็นแผนประเภทนี้ก็พอถูไถไปได้
แต่ความจริงแผนพัฒนาระยะยาวของเราไม่มี

2. แผนพัฒนาระยะกลาง (4 - 6 ปี) แบ่งช่วงของการพัฒนาออกเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ 6 ปี โดยคาดคะเน
ว่าในช่วง 4 - 6 ปี นี้ จะทำอะไรกันบ้าง จะมีโครงการพัฒนาอะไร จะงบประมาณใช้ทรัพยากรมากน้อย
เพียงไร แผนดังกล่าวได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั่นเองในส่วนของการศึกษาก็มีแผน
พัฒนาการศึกษาแห่งชาติ(ไม่ใช่แผนการศึกษาแห่งชาติ)ในเรื่องของการเกษตรก็มีแผนพัฒนาเกษตร
เป็นต้น

3. แผนพัฒนาประจำปี (1 ปี) ความจริงในการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษา
ได้มีการหนดรายละเอียดไว้เป็นรายปีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลางได้จัดทำไว้
ล่วงหน้า ข้อมูลหรือความต้องการที่เขียนไว้อาจไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน จึงต้องจัด
ทำแผนพัฒนาประจำปีขึ้น นอกจากนั้น วิธีการงบประมาณของเราไม่ใช้แผนพัฒนาระยะกลางขอตั้งงบ
ประมาณประจำปี เพราะมีรายละเอียดน้อยไป แต่จะต้องใช้แผนพัฒนาประจำปี เป็นแผนขอเงิน

4. แผนปฏิบัติการประจำปี (1 ปี) ในการขอตั้งงบประมาณตามแผนพัฒนาประจำปีในข้อ 3 ปกติมักไม่ได้
ตามที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆขอไป สำนักงบประมาณหรือคณะกรรมาธิการของรัฐสภามักจะตัดยอด
เงินงบประมาณที่ส่วนราชการต่างๆขอไปตามความเหมาะสมและจำเป็นและสภาวการณ์การเงินงบ
ประมาณของประเทศที่จะพึงมีภายหลังทีส่วนราชการต่างๆ ได้รับงบประมาณจริงๆแล้ว จำเป็นที่จะต้อง
ปรับแผนพัฒนาประจำปีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอเงินให้สอดคล้องกับเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งเรียกว่าแผนปฏิบัติ
การประจำปีขึ้น

ความหมายของโครงการ

พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำโครงการว่า หมายถึง
"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กะกำหนดไว้"โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาซึ่ง
ช่วยให้เห็นภาพ และทิศทางการพัฒนา ขอบเขตของการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้
โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต
โครงการโดยทั้วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการ
พัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น

องค์ประกอบของโครงการ

องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้
1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศ
ทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้

2.ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้ง
จนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ

3.หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจน
ชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการ
ตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผน
อื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการ

บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหาย
ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น

4.วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะ
หลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์
มากกว่า 1 ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน และอาจ
จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้
เพียง 1-3 ข้อ

5.เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่จะทำได้
ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุ
ประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ

6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการ
ดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้ว
นำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุด
ท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์

7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ
ปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน
2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์

8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่าง
ชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- เงินงบประมาณแผ่นดิน
- เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุ
ทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ

9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของ
หรือรับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้

10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการ
นั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

11.การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการ
อย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียม
โครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป

12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับ
เรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้

ลักษณะโครงการที่ดี

โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ
- โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้อง
กับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ เป็นต้น

4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
- สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
- ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
- แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น

5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตาม
โครงการได้

6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้


แบบฝึกหัดเขียนโครงการ


ชื่อแผนงาน..............................................................

ชื่อโครงการ.............................................................

หลักการและเหตุผล

.................................................................................................................................

.................................................................................................................................


วัตถุประสงค์

..................................................................................................................................

..................................................................................................................................


เป้าหมาย

....................................................................................................................................

.....................................................................................................................................


วิธีดำเนินการ

......................................................................................................................................

......................................................................................................................................


ระยะเวลาดำเนินการ

.......................................................................................................................................

.......................................................................................................................................


งบประมาณ

........................................................................................................................................

....................................................................................................................................

ผู้รับผิดชอบโครงการ

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................


หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

............................................................................................................................................

.............................................................................................................................................

การประเมินผล

..............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................



Credit :http://www.kiriwong.net/nakhonsawan/km5.htm

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


วิธีการ config AccessPoint D-link DIR-600

1.ต้องเอาสาย lan เสียบต่อระหว่างโมเด็ม กับ ตัว router ที่ซื้อมาก่อนเพราะ router ตัวนี้ไม่มีโมเด็มในตัว
2. เปิด browser แล้วใส่ 192.168.1.1 เพื่อเข้าไปกำหนดค่าต่างๆของ router ให้สามารถแชร์ wireless ได้ ทำตามคู่มือ
DIR-600 IP : 192.168.0.1 use=admin password ให้ว่างๆไว้
ถ้าไม่ได้ให้กดปุ่ม reset ที่ตัว router ก่อนสัก 2-3 วินาที แล้วลองใหม่ถ้าเข้าได้แล้ว ให้ทำตามคู่มือที่ให้มากับตัว router
การตั้งค่า Password ในการเชื่อมต่อ Wireless ให้เข้าไปตั้งในเมนู Wireless เลือก Security ใช้เป็น WEP 64 Bit ก็กำหนดค่าตัวเลข 0-9 หรือ ตัวอักษร A-F และตั้งรวมทั้งตัวอักษรและตัวเลขไม่เกิน 10 ตัว

เครือข่ายไร้สายความเร็วสูง
สร้างเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับบ้านของคุณโดยใช้ D - Link Wireless Router 150 เชื่อมต่อ DIR - 600 ไปยังโมเด็มแบบไร้สายความเร็วสูงและส่วนแบ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและเพลิดเพลินกับการท่องเว็บ, การตรวจสอบ e - mail และสนทนากับครอบครัวและเพื่อนออนไลน์ เราเตอร์จะใช้เทคโนโลยีไร้สาย 150 ซึ่งมีความเร็วเพิ่มขึ้นและช่วงกว่ามาตรฐาน 802.11g / b *. มันมี NAT (เครือข่ายการแปลที่อยู่) ซึ่งทำให้ผู้ใช้หลายคนเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้งานร่วมกันอยู่ IP เดียว DIR - 600 ยังได้รวมรวม 4 - Port Ethernet 10/100Base-TX สวิทช์ที่ช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแบบมีสาย
การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายของคุณ
DIR - 600 รวมถึงในตัวไฟร์วอลล์ที่ป้องกันเครือข่ายของคุณจากการโจมตีที่เป็นอันตราย มันช่วยลดภัยคุกคามของแฮกเกอร์และป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกเข้าสู่เครือข่ายของคุณ คุณลักษณะด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมรวมถึงการตรวจสอบ Stateful Packet ไฟร์วอลล์ (SPI) ที่ช่วยวิเคราะห์การเข้าชมเครือข่ายและการควบคุมโดยผู้ปกครองที่ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม DIR - 600 ยังรองรับ WEP, WPA, WPA2 และการเข้ารหัสเพื่อให้การจราจรในเครือข่ายของคุณให้ปลอดภัย
การประกันความเข้ากันได้
DIR - 600 ให้การเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบไร้สายอื่น ๆ 150 หรือ 802.11n อุปกรณ์และสามารถเข้ากันได้กับ 802.11b / g, มั่นใจเข้ากันได้กับระดับความหลากหลายของอุปกรณ์ไร้สาย DIR - 600 รวมถึงสี่พอร์ตอีเธอร์เน็ตพร้อมให้คุณเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้อีเธอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์พิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ


ง่ายต่อการติดตั้งและใช้
กับ D - Link Router Quick Setup Wizard, คุณสามารถตั้งค่าเครือข่ายไร้สายของคุณในไม่กี่นาที ตัวช่วยสร้างจะแนะนำคุณผ่านง่ายที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการติดตั้งฮาร์ดแวร์ใหม่ของคุณเชื่อมต่อกับเครือข่ายของคุณและเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ มันจะกำหนดค่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตการตั้งค่า (ISP) ได้อย่างรวดเร็วสร้างการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นอกจากนี้ DIR - 600 เป็น Wi - Fi Protected Setup ™ (WPS) ได้รับการรับรอง, ทำให้ง่ายยิ่งขึ้นในการกำหนดค่าเครือข่ายไร้สายของคุณและเปิดใช้งานการรักษาความปลอดภัย

D-Link DIR-600/E
ความเร็ว 150Mbps
ประเภท Wireless LAN Access Point
มาพร้อมเสาอากาศที่ถอดเปลี่ยนได้ 1 ต้น
มีพอร์ต 4 พอร์ต UTP รองรับความเร็ว 10/100Mbps, Auto-MDI-X
มีพอร์ต 1 พอร์ต UTP รองรับความเร็ว 10/100Mbps สำหรับต่อ ADSL หรือ Cable Modem
รองรับ Virtual Server, DMZ-port Support
ฟังก์ชันการทำงาน NAT, L2TP & PPTP & IPSec pass-through for VPN, DHCP Server, UPnP Feature, SPI ( Shameful Packet Inspection)
รองรับระบบจัดการ Web Management
ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 64/128-bit WEP, WPA and WPA2
Desktop Wireless Access Point with Broadband Internet Router, Wi-Fi certified, Windows 7 Certified

Manual + Power Supply + Software CD Included


Credit  : http://www.pcresource.co.th/compute