วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนในการเขียนโครงการ


1. ชื่อแผนงาน
2. ชื่อโครงการ
3. หลักการและเหตุผล
4. วัตถุประสงค์
5. เป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. ระยะเวลาดำเนินการ
8. งบประมาณ
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
11. การประเมินผล
12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

การวางแผนและการเขียนโครงการ

ความหมายของการวางแผน
มีผู้ให้คำจำกัดความของการวางแผนไว้หลายลักษณะ เช่น การวางแผน คือ การมองอนาคต
การเล็งเห็นจุดดหมายที่ต้องการ การคาดปัญหาเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาทาง
แก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น

การวางแผน เป็นการใช้ความคิดมองจินตนาการตระเตรียมวิธีการต่างๆ เพื่อคัดเลือกทางที่ดี
ที่สุดทางหนึ่ง กำหนดเป้าหมายและวางหมายกำหนดการกระทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์
ที่ตั้งไว้

การวางแผน เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการกำหนดสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การประเมิน
ผลของสิ่งที่กำหนดว่าจะกระทำและกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ
ถ้าจะกล่าวโดยสรุป การวางแผนก็คือการคิดการหรือกะการไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไม
ทำที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และไครทำ

การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ
- อนาคต
- การตัดสินใจ
- การปฏิบัติ

ความสำคัญของการวางแผน
ถ้าจะเปรียบเทียบระบบการศึกษากับคน การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามอง
ในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว เพราะถ้าสมองไม่ทำงานส่วนอื่นๆของ
ร่างกาย เช่น แขน ขา ก็จะทำอะไรไม่ได้ หรือถ้าคนทำงานไม่ใช้สมอง คือทำงานแบบไม่มีหัวคิด
ก็ลองนึกภาพดูก็แล้วกันว่าจะเป็นอย่างไร คนทุกคนต้องใช้สมองจึงจะทำงานได้ ระบบการศึกษา
หรือการจัดการศึกษาก็่เช่นเดียวกัน ต้องมีการวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิด การเตรียมการ
ว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร

การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น

1. การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมใน
ปัจจุบันแล้ว กำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทาง
ที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญ
พร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา

2. การวางแผนเป็นศูนย์กลางประสานงานเช่น ในการจัดการศึกษาเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อ
ประสานงานการศึกษาทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้

3. การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด

4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการควบคุมงานของนักบริหารเพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่าย
ต่างๆให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่ต้องการ

ประเภทของแผน

เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้น่าจะพูดถึงประเภทของแผนเสียเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจลักษณะของแผน
แต่ละอย่าง ถ้าจะมองในแง่ของระยะเวลาอาจจะแบ่งแผนออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

1. แผนพัฒนาระยะยาว (10 - 20 ปี) กำหนดเค้าโครงกว้างๆ ว่าประเทศชาติของเราจะมีทิศทางพัฒนาไป
อย่างไร ถ้าจะดึงเอารัฐธรรมนูญ และ/หรือแผนการศึกษาแห่งชาติมาเป็นแผนประเภทนี้ก็พอถูไถไปได้
แต่ความจริงแผนพัฒนาระยะยาวของเราไม่มี

2. แผนพัฒนาระยะกลาง (4 - 6 ปี) แบ่งช่วงของการพัฒนาออกเป็น 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ 6 ปี โดยคาดคะเน
ว่าในช่วง 4 - 6 ปี นี้ จะทำอะไรกันบ้าง จะมีโครงการพัฒนาอะไร จะงบประมาณใช้ทรัพยากรมากน้อย
เพียงไร แผนดังกล่าวได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั่นเองในส่วนของการศึกษาก็มีแผน
พัฒนาการศึกษาแห่งชาติ(ไม่ใช่แผนการศึกษาแห่งชาติ)ในเรื่องของการเกษตรก็มีแผนพัฒนาเกษตร
เป็นต้น

3. แผนพัฒนาประจำปี (1 ปี) ความจริงในการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลาง เช่น แผนพัฒนาการศึกษา
ได้มีการหนดรายละเอียดไว้เป็นรายปีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการจัดทำแผนพัฒนาระยะกลางได้จัดทำไว้
ล่วงหน้า ข้อมูลหรือความต้องการที่เขียนไว้อาจไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน จึงต้องจัด
ทำแผนพัฒนาประจำปีขึ้น นอกจากนั้น วิธีการงบประมาณของเราไม่ใช้แผนพัฒนาระยะกลางขอตั้งงบ
ประมาณประจำปี เพราะมีรายละเอียดน้อยไป แต่จะต้องใช้แผนพัฒนาประจำปี เป็นแผนขอเงิน

4. แผนปฏิบัติการประจำปี (1 ปี) ในการขอตั้งงบประมาณตามแผนพัฒนาประจำปีในข้อ 3 ปกติมักไม่ได้
ตามที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆขอไป สำนักงบประมาณหรือคณะกรรมาธิการของรัฐสภามักจะตัดยอด
เงินงบประมาณที่ส่วนราชการต่างๆขอไปตามความเหมาะสมและจำเป็นและสภาวการณ์การเงินงบ
ประมาณของประเทศที่จะพึงมีภายหลังทีส่วนราชการต่างๆ ได้รับงบประมาณจริงๆแล้ว จำเป็นที่จะต้อง
ปรับแผนพัฒนาประจำปีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอเงินให้สอดคล้องกับเงินที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งเรียกว่าแผนปฏิบัติ
การประจำปีขึ้น

ความหมายของโครงการ

พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำโครงการว่า หมายถึง
"แผนหรือเค้าโครงการตามที่กะกำหนดไว้"โครงการเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนาซึ่ง
ช่วยให้เห็นภาพ และทิศทางการพัฒนา ขอบเขตของการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้
โครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต
โครงการโดยทั้วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการ
พัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น

องค์ประกอบของโครงการ

องค์ประกอบพื้นฐานในโครงการแต่ละโครงการนั้นควรจะมีดังนี้
1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศ
ทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหาหรือสนองวัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้

2.ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้ง
จนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ

3.หลักการและเหตุผล ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจน
ชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการ
ตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนจังหวัดหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือแผน
อื่น ๆ ก็ควรชี้แจงด้วย ทั้งนี้ผู้เขียนโครงการ

บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผลเสียหาย
ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้อนุมัติโครงการได้เห็นประโยชน์ของโครงการกว้างขวางขึ้น

4.วัตถุประสงค์ เป็นการบอกให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรเป็นวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และวัดและประเมินผลได้ ในระยะ
หลัง ๆ นี้นักเขียนโครงการที่มีผู้นิยมชมชอบมักจะเขียนวัตถุประสงค์เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
คือเขียนให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเขียนเป็นนามธรรม การทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์
มากกว่า 1 ข้อได้ แต่ทั้งนี้การเขียนวัตถุประสงค์ไว้มาก ๆ อาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติมองไม่ชัดเจน และอาจ
จะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ ดังนั้นจึงนิยมเขียนวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน-ปฏิบัติได้-วัดได้
เพียง 1-3 ข้อ

5.เป้าหมาย ให้ระบุว่าจะดำเนินการสิ่งใด โดยพยายามแสดงให้ปรากฏเป็นรูปตัวเลขหรือจำนวนที่จะทำได้
ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบุเป้าหมาย ระบุเป็นประเภทลักษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุ
ประสงค์และความสามารถในการทำงานของผู้รับผิดชอบโครงการ

6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการ
ดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการจะรวบรวมกิจกรรมทุกอย่างไว้แล้ว
นำมาจัดลำดับว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงขั้นตอนสุด
ท้ายที่ทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์

7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ
ปัจจุบันนิยมระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้น การระบุจำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดือน
2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์

8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่าง
ชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
- เงินงบประมาณแผ่นดิน
- เงินกู้และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- เงินนอกงบประมาณอื่น ๆ เช่น เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
การระบุยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้สามารถระบุ
ทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน วัสดุ ฯลฯ

9. เจ้าของโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของ
หรือรับผิดชอบโครงการ โครงการย่อย ๆ บางโครงการระบุเป็นชื่อบุคคลผู้รับผิดชอบเป็นรายโครงการได้

10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการ
นั้น ควรจะประสานงานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานใดบ้าง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

11.การประเมินผล บอกแนวทางว่าการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไรในระยะเวลาใดและใช้วิธีการ
อย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งผลของการประเมินสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการ เตรียม
โครงการที่คล้ายคลึงหรือเกี่ยวข้องในเวลาต่อไป

12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับ
เรื่องนี้สามารถเขียนทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชน์ในด้านผลกระทบของโครงการด้วยได้

ลักษณะโครงการที่ดี

โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้
1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นได้
2. มีรายละเอียด เนื้อหาสาระครบถ้วน ชัดเจน และจำเพาะเจาะจง โดยสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้คือ
- โครงการอะไร = ชื่อโครงการ
- ทำไมจึงต้องริเริ่มโครงการ = หลักการและเหตุผล
- ทำเพื่ออะไร = วัตถุประสงค์
- ปริมาณที่จะทำเท่าไร = เป้าหมาย
- ทำอย่างไร = วิธีดำเนินการ
- จะทำเมื่อไร นานเท่าใด = ระยะเวลาดำเนินการ
- ใช้ทรัพยากรเท่าไรและได้มาจากไหน = งบประมาณ แหล่งที่มา
- ใครทำ = ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ต้องประสานงานกับใคร = หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
- บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ = การประเมินผล
- เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วจะได้อะไร = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3. รายละเอียดของโครงการดังกล่าว ต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้อง
กับหลักการและเหตุผล วิธีดำเนินการต้องเป็นทางที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ฯลฯ เป็นต้น

4. โครงการที่ริเริ่มขึ้นมาต้องมีผลอย่างน้อยที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งในหัวข้อต่อไปนี้
- สนองตอบ สนับสนุนต่อนโยบายระดับจังหวัดหรือนโยบายส่วนรวมของประเทศ
- ก่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเฉพาะส่วนและการพัฒนาโดยส่วนรวมของประเทศ
- แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุดตรงประเด็น

5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้อื่นอ่านแล้วเข้าใจ และสามารถดำเนินการตาม
โครงการได้

6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้และสามารถติดตามและประเมินผลได้


แบบฝึกหัดเขียนโครงการ


ชื่อแผนงาน..............................................................

ชื่อโครงการ.............................................................

หลักการและเหตุผล

.................................................................................................................................

.................................................................................................................................


วัตถุประสงค์

..................................................................................................................................

..................................................................................................................................


เป้าหมาย

....................................................................................................................................

.....................................................................................................................................


วิธีดำเนินการ

......................................................................................................................................

......................................................................................................................................


ระยะเวลาดำเนินการ

.......................................................................................................................................

.......................................................................................................................................


งบประมาณ

........................................................................................................................................

....................................................................................................................................

ผู้รับผิดชอบโครงการ

...........................................................................................................................................

...........................................................................................................................................


หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

............................................................................................................................................

.............................................................................................................................................

การประเมินผล

..............................................................................................................................................

...............................................................................................................................................
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................



Credit :http://www.kiriwong.net/nakhonsawan/km5.htm

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


วิธีการ config AccessPoint D-link DIR-600

1.ต้องเอาสาย lan เสียบต่อระหว่างโมเด็ม กับ ตัว router ที่ซื้อมาก่อนเพราะ router ตัวนี้ไม่มีโมเด็มในตัว
2. เปิด browser แล้วใส่ 192.168.1.1 เพื่อเข้าไปกำหนดค่าต่างๆของ router ให้สามารถแชร์ wireless ได้ ทำตามคู่มือ
DIR-600 IP : 192.168.0.1 use=admin password ให้ว่างๆไว้
ถ้าไม่ได้ให้กดปุ่ม reset ที่ตัว router ก่อนสัก 2-3 วินาที แล้วลองใหม่ถ้าเข้าได้แล้ว ให้ทำตามคู่มือที่ให้มากับตัว router
การตั้งค่า Password ในการเชื่อมต่อ Wireless ให้เข้าไปตั้งในเมนู Wireless เลือก Security ใช้เป็น WEP 64 Bit ก็กำหนดค่าตัวเลข 0-9 หรือ ตัวอักษร A-F และตั้งรวมทั้งตัวอักษรและตัวเลขไม่เกิน 10 ตัว

เครือข่ายไร้สายความเร็วสูง
สร้างเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับบ้านของคุณโดยใช้ D - Link Wireless Router 150 เชื่อมต่อ DIR - 600 ไปยังโมเด็มแบบไร้สายความเร็วสูงและส่วนแบ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและเพลิดเพลินกับการท่องเว็บ, การตรวจสอบ e - mail และสนทนากับครอบครัวและเพื่อนออนไลน์ เราเตอร์จะใช้เทคโนโลยีไร้สาย 150 ซึ่งมีความเร็วเพิ่มขึ้นและช่วงกว่ามาตรฐาน 802.11g / b *. มันมี NAT (เครือข่ายการแปลที่อยู่) ซึ่งทำให้ผู้ใช้หลายคนเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้งานร่วมกันอยู่ IP เดียว DIR - 600 ยังได้รวมรวม 4 - Port Ethernet 10/100Base-TX สวิทช์ที่ช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแบบมีสาย
การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สายของคุณ
DIR - 600 รวมถึงในตัวไฟร์วอลล์ที่ป้องกันเครือข่ายของคุณจากการโจมตีที่เป็นอันตราย มันช่วยลดภัยคุกคามของแฮกเกอร์และป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกเข้าสู่เครือข่ายของคุณ คุณลักษณะด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมรวมถึงการตรวจสอบ Stateful Packet ไฟร์วอลล์ (SPI) ที่ช่วยวิเคราะห์การเข้าชมเครือข่ายและการควบคุมโดยผู้ปกครองที่ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ดูเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม DIR - 600 ยังรองรับ WEP, WPA, WPA2 และการเข้ารหัสเพื่อให้การจราจรในเครือข่ายของคุณให้ปลอดภัย
การประกันความเข้ากันได้
DIR - 600 ให้การเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบไร้สายอื่น ๆ 150 หรือ 802.11n อุปกรณ์และสามารถเข้ากันได้กับ 802.11b / g, มั่นใจเข้ากันได้กับระดับความหลากหลายของอุปกรณ์ไร้สาย DIR - 600 รวมถึงสี่พอร์ตอีเธอร์เน็ตพร้อมให้คุณเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้อีเธอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์พิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ


ง่ายต่อการติดตั้งและใช้
กับ D - Link Router Quick Setup Wizard, คุณสามารถตั้งค่าเครือข่ายไร้สายของคุณในไม่กี่นาที ตัวช่วยสร้างจะแนะนำคุณผ่านง่ายที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการติดตั้งฮาร์ดแวร์ใหม่ของคุณเชื่อมต่อกับเครือข่ายของคุณและเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ มันจะกำหนดค่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตการตั้งค่า (ISP) ได้อย่างรวดเร็วสร้างการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง นอกจากนี้ DIR - 600 เป็น Wi - Fi Protected Setup ™ (WPS) ได้รับการรับรอง, ทำให้ง่ายยิ่งขึ้นในการกำหนดค่าเครือข่ายไร้สายของคุณและเปิดใช้งานการรักษาความปลอดภัย

D-Link DIR-600/E
ความเร็ว 150Mbps
ประเภท Wireless LAN Access Point
มาพร้อมเสาอากาศที่ถอดเปลี่ยนได้ 1 ต้น
มีพอร์ต 4 พอร์ต UTP รองรับความเร็ว 10/100Mbps, Auto-MDI-X
มีพอร์ต 1 พอร์ต UTP รองรับความเร็ว 10/100Mbps สำหรับต่อ ADSL หรือ Cable Modem
รองรับ Virtual Server, DMZ-port Support
ฟังก์ชันการทำงาน NAT, L2TP & PPTP & IPSec pass-through for VPN, DHCP Server, UPnP Feature, SPI ( Shameful Packet Inspection)
รองรับระบบจัดการ Web Management
ระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 64/128-bit WEP, WPA and WPA2
Desktop Wireless Access Point with Broadband Internet Router, Wi-Fi certified, Windows 7 Certified

Manual + Power Supply + Software CD Included


Credit  : http://www.pcresource.co.th/compute

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักการทำงานในการแสดงผลของภาษา PhP

คุณสมบัติการแสดงผลของพีเอชพี จะปรากฏในลักษณะHTML ซึ่งจะไม่แสดงคำสั่งที่ผู้ใช้เขียน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่พีเอชพีแตกต่างจากภาษาในลักษณะไคลเอนต์-ไซด์ สคริปต์ เช่น ภาษาจาวาสคริปต์ ที่ผู้ชมเว็บไซต์สามารถอ่าน ดูและคัดลอกคำสั่งไปใช้เองได้ นอกจากนี้พีเอชพียังเป็นภาษาที่เรียนรู้และเริ่มต้นได้ไม่ยาก โดยมีเครื่องมือช่วยเหลือและคู่มือที่สามารถหาอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความสามารถการประมวลผลหลักของพีเอชพี ได้แก่ การสร้างเนื้อหาอัตโนมัติจัดการคำสั่ง การอ่านข้อมูลจากผู้ใช้และประมวลผล การอ่านข้อมูลจากดาต้าเบส ความสามารถจัดการกับคุกกี้ ซึ่งทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมในลักษณะCGI คุณสมบัติอื่นเช่น การประมวลผลตามบรรทัดคำสั่ง (command line scripting) ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสร้างสคริปต์พีเอชพี ทำงานผ่านพีเอชพี พาร์เซอร์ (PHP parser) โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์หรือเบราว์เซอร์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ Cron (ใน ยูนิกซ์หรือลีนุกซ์) หรือ Task Scheduler (ในวินโดวส์) สคริปต์เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในแบบ Simple text processing tasks ได้

การแสดงผลของพีเอชพี ถึงแม้ว่าจุดประสงค์หลักใช้ในการแสดงผล HTML แต่ยังสามารถสร้าง XHTML หรือ XML ได้ นอกจากนี้สามารถทำงานร่วมกับคำสั่งเสริมต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลหลัก PDF แฟลช (โดยใช้ libswf และ Ming) พีเอชพีมีความสามารถอย่างมากในการทำงานเป็นประมวลผลข้อความ จาก POSIX Extended หรือ รูปแบบ Perl ทั่วไป เพื่อแปลงเป็นเอกสาร XML ในการแปลงและเข้าสู่เอกสาร XML เรารองรับมาตราฐาน SAX และ DOM สามารถใช้รูปแบบ XSLT ของเราเพื่อแปลงเอกสาร XML

เมื่อใช้พีเอชพีในการทำอีคอมเมิร์ซ สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น เช่น Cybercash payment, CyberMUT, VeriSign Payflow Pro และ CCVS functions เพื่อใช้ในการสร้างโปรแกรมทำธุรกรรมทางการเงิน



Credit :http://forum.datatan.net/index.php?topic=151.msg151

หลัการทำงานในการใช้ตัวแปรในภาษา PHP

หลัการทำงานในการใช้ตัวแปรในภาษา PHP
สำหรับการเขียนโปรแกรมสำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือ การกำหนดและใช้ตัวแปร (variable) ตัวแปรในภาษา PHP จะเหมือนกับในภาษา Perl คือเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย dollar ($) โดยเราไม่จำเป็นต้องกำหนดแบบของข้อมูล (data type) อย่างเจาะจงเหมือนในภาษาซี เพราะว่า ตัวแปลภาษาจะจำแนกเองโดยอัตโนมัติว่า ตัวแปรดังกล่าว ใช้ข้อมูลแบบใด ในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ข้อความ จำนวนเต็ม จำนวนที่มีเลขจุดทศนิยมตรรก เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน เช่น
$mystring = "Hello World!";
$myinteger = 1031;
$myfloat = 3.14;
ถ้าเราต้องการจะแสดงค่าของตัวแปร ก็อาจจะใช้คำสั่ง echo ได้ ตัวอย่างเช่น
echo "$mystring ";
echo "$myinteger ";
echo "$myfloat ";
สัญลักษณ์ หมายถึงการขึ้นบรรทัดใหม่ เป็น escape character ตัวหนึ่ง (สำหรับตัวอื่นๆ โปรดดูในตาราง) เมื่อพิมพ์ข้อความเป็นเอาพุต และโปรดสังเกตว่า สำหรับการใช้งานภายในเอกสาร HTML การขึ้นบรรทัดใหม่โดยใช้ จะแตกต่างจากการขึ้นบรรทัดโดยใช้
ใน HTML
$mystring = "Hello World!";
$myinteger = 1031;
$myfloat = 3.14;
echo "$mystring
";
echo "$myinteger
";
echo "$myfloat
";
?>
Escaped characters
newline
carriage
\t horizontal tab
\\ backslash
\$ dollar sign
\" double-quote
%% percent

ตัวแปรตัวหนึ่ง อาจจะมีข้อมูลหลายแบบในช่วงเวลาที่ต่างกัน แต่การจะใช้งานบ้างครั้งจะต้องดูด้วยว่า เมื่อไหร่จะใช้เป็นตัวเลขเท่านั้น และไม่ใช้กับข้อความเป็นต้น ตัวอย่างเช่น
$x = 10;
$y = $x + 15.5;
echo "$x, $y ";
$x = "abc";
echo "$x ";
$z = $x + 15.5;
echo "$x, $z ";
echo ("100.5" - 16);
echo (0xef + 007);
?>
ในกรณีนี้ เรากำหนดในตอนแรกว่า $x ให้เก็บค่า 10 ซึ่งเป็นจำนวนเต็ม ถ้าเรานำมาบวกกับ 15.5 ผลที่ได้ก็จะเป็น 25.5 ซึ่งกลายเป็นเลขทศนิยม แล้วเก็บไว้ในตัวแปร $y ต่อมากำหนดให้ตัวแปร $x เก็บสตริงค์ที่เก็บข้อความ "abc" ถ้าเรานำมาบวกกับ 15.5 กรณีนี้ก็จะให้ผลที่ได้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สามารถนำข้อความมาบวกกับตัวเลขได้
แต่ PHP อนุญาตให้เราทำเช่นนั้นได้ในบางกรณี สมมุติว่า สตริงค์มีเฉพาะตัวเลขและสามารถเปลี่ยนเป็น เลขจำนวนเต็ม หรือจำนวนจริงได้โดยอัตโนมัติ เราก็นำสตริงค์ นี้มาบวกลบคูณหรือหารกับตัวแปรที่เก็บเป็นตัวเลขได้
ค่าคงที่สำหรับเลขจำนวนเต็ม อาจจะอยู่ในรูปของเลขฐานแปดหรือสิบหกก็ได้ ถ้าเป็นเลขฐานแปดจะมีเลขศูนย์นำ ถ้าเป็นเลขฐานสิบหกจะมี 0x นำหน้า

Credit :http://www.thaiems.net/index.php?option=com_content&task=view&id=33&Itemid=42

หลักการทำงานของ PHP

หลักการทำงานของ PHP
เครื่องลูกข่ายจะร้องขอมายัง Web Server ที่มี Script เป็น PHP จากนั้น Script PHP จะทำการประมวลผลข้อมูล ที่ร้องขอเข้ามา ในบ้างครั้งมีการติดต่อ หรือดึงข้อมูลจาก Database ก็จะมีการส่งข้อมูลไปดึงข้อมูลมาประมวลผล เมื่อมีการประมวลผลเสร็จแล้วก็ส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องลูกข่ายที่ร้องข้อข้อมูลเข้ามา

การทดสอบภาษา PHP
สำหรับการทดสอบภาษา php ง่ายๆ ครับเพียงแค่เขียนคำสั่งเพียงบรรทัดเดียวเราก็สามารถรู้ได้ว่า ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์หรือโฮสติ้งนั้นรองรับภาษา php หรือไม่ โดยการการพิมพ์โด้ค PHP

Credit :http://click065.multiply.com/reviews/item/9

ความหมายของ PHP

PHP ในปัจจุบัน Web site ต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว อาทิเช่น เรื่องของความสวยงามและแปลกใหม่, การบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัย,เป็นสื่อกลางในการติดต่อ และสิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากซึ่ง อได้ว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบการ ขายของก็คือ E-commerce ซึ่งเจ้าของสินค้าต่างๆ ไม่จำเป็น ต้องมีร้านค้าจริงและไม่จำเป็นต้องจ้างคนขายของอีกต่อไปร้านค้าและตัวสินค้านั้น จะไปปรากฏอยู่บน Wed site และการซื้อขายก็เกิดขึ้นบนโลกของ Internet แล้ว PHP ช่วยเราให้เป็นการพัฒนา Web site และความสามารถที่โดดเด่นอีกประการ-หนึ่งของ PHP นั้น คือ database-enabled web page ทำให้เอกสารของ HTML สามารถที่ จะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล (database)ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงทำให้ ความตองการในเรื่องการจัดรายการสินค้าและรับรายการสั่งของตลอดจนการจัดเก็บ ข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญผ่านทาง Internet เป็นไปได้อย่างง่ายดาย

PHP เป็นภาษาจำพวก scripting language คำสั่งต่างๆจะเก็บอยู่ในไฟล์ที่เรียกว่า สคริปต์ (script) และเวลาใช้งานต้องอาศัยตัวแปลชุดคำสั่ง ตัวอย่างของภาษาสคริปก็เช่น JavaScript, Perl เป็นต้น ลักษณะของ PHP ที่แตกต่างจากภาษาสคริปต์แบบอื่นๆ คือ PHP ได้รับการพัฒนาและออกแบบมา เพื่อใช้งานในการสร้างเอกสารแบบ HTML โดยสามารถสอดแทรกหรือแก้ไขเนื้อหาได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงกล่าวว่า PHP เป็นภาษาที่เรียกว่า server-side หรือ HTML-embedded scripting language เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเอกสารแบบ Dynamic HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีลูกเล่นมากขึ้น

เนื่องจากว่า PHP ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัว Web Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องดูก่อนว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น PHP สามารถใช้ได้กับ Apache WebServer และ Personal Web Server (PWP) และ OMNIHTTPD สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/NT
ในกรณีของ Apache เราสามารถใช้ PHP ได้สองรูปแบบคือ ในลักษณะของ CGI และ Apache Module ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า ถ้าใช้ PHP เป็นแบบโมดูล PHP จะเป็นส่วนหนึ่งของ Apache หรือเป็นส่วนขยายในการทำงานนั่นเอง ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่เป็น CGI เพราะว่า ถ้าเป็น CGI แล้ว ตัวแปลชุดคำสั่งของ PHP ถือว่าเป็นแค่โปรแกรมภายนอก ซึ่ง Apache จะต้องเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้ง ที่ต้องการใช้ PHP ดังนั้น ถ้ามองในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ PHP แบบที่เป็นโมดูลหนึ่งของ Apache จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

ลักษณะเด่นของ PHP

- ใช้ได้ฟรี
- PHP เป็นโปร แกรมวิ่งข้าง Sever ดังนั้นขีดความสามารถไม่จำกัด
- Conlatfun-นั่นคือPHP วิ่งบนเครื่อง UNIX,Linux,Windows ได้หมด
- เรียนรู้ง่าย เนืองจาก PHP ฝั่งเข้าไปใน HTML และใช้ดครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาง่ายๆ
- เร็วและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมือใช้กับ Apach Xerve เพราะไม่ต้องใช้โปรแกรมจากภายนอก
- ใช้ร่วมกับ XML ได้ทันที
- ใช้กับระบบแฟ้มข้อมูลได้
- ใช้กับข้อมูลตัวอักษรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้กับโครงสร้างข้อมูลใช้ได้แบบ Scalar,Array,Associative array
- ใช้กับการประมวลผลภาพได้

Credit : http://gotoknow.org/blog/skvk-php/142621

หลักการทำงานของPHP

เนื่องจาก PHP จะทำงานโดยมีตัวแปลและเอ็กซิคิวต์ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ อาจจะเรียกการทำงานว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ไซด์
( Server Side ) ส่วนการทำงานของบราวเซอร์ของผู้ใช้เรียกว่าไคล์เอ็นต์ไซด์ ( Client Side )
โดยการทำงานจะเริ่มต้นที่ผู้ใช้ส่งความต้องการผ่านเว็บบราวเซอร์ทาง HTTP ( HTTP Request )
ซึ่งอาจจะเป็นการกรอกแบบฟอร์ม หรือใส่ข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นเอกสาร PHP เมื่อเอกสาร PHP
เข้ามาถึงเว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะถูกส่งไปให้ PHP เพื่อทำหน้าที่แปลคำสั่งแล้วเอ็กซิคิวต์คำสั่งนั้น หลังจากนั้น PHP
จะสร้างผลลัพธ์ในรูปแบบเอกสาร HTML ส่งกลับไปให้เว็ปเซิร์ฟเวอร์เพื่อส่งต่อไปให้บราวเซอร์แสดงผลทางฝั่งผู้ใช้ต่อไป
(HTTP Response) ซึ่งลักษณะงานแบบนี้จะคล้ายกับการทำงานของ CGI ( Common Gateway Interface )
หรืออาจจะกล่าได้ว่า PHP ก็คือโปรแกรม CGI ประเภทหนึ่งก็ได้ซึ่งจะทำงานคล้ายกับ ASP นั่นเอง


Credit : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=jang-jitty&group=10

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สิ่งที่ได้ในการสร้างฟอร์ม

รู้วิธีการสร้างแบบฟอร์มและคำสั่งต่างๆที่จะใช้ในการกรอกแบบฟอร์ม
และรู้วิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดกับการกรอกข้อมูลเช่นทำยังไงถึงจะเติมรหัสให้เป็นอกษรได้และการกำหนดค่าของคำสั่งต่างๆ
เช่นการพิมพ์ชื่อโดยการใส่คำนำหน้าชื่อจะทำอย่างไรและถ้าไม่ต้องการที่จะพิมพ์จะคัดลอกมาจะใช้วิธีไหน
เช่นการที่เราอยากจะเอาภาพมาใส่ด้วยทำได้โดยวิธีไหนบ้างก็จะยกตัวอย่งง่ายๆนะค่ะ
การต้องการเอาภาพมาใส่ทำได้โดย
ไปที่ Insert และ form และคลิกที่ File Fireld และยังมีอีกหลายวิธีทีเราสามารถทำได้เช่นการกำหนดให้รับค่าเแพาะตัวเลข
และการใส่รายละเอียดให้พาสเวร์ดค่ะ
และที่สำคัญนะค่ะคือการเรียนรู้ด้วยตัวเองถึงแม้เราจะไม่รู้คำสั่งใดๆเลยก็ตามค่ะ
การติดตั้ง Window 7
การติดตั้ง Window 7

1.นำแผ่น Window 7 เข้าเครื่อง>รีสตาร์ท ,F10
2.ไปที่ Boot กด F10> OK รอประมาณ5-10นาที
3.หน้าจอ Install Window เลือกภาษา ช่องที่2-Thai(Thailand)
ช่องที่3-Thai kedmanee>Next คลิก Install now >รอ ติ๊กถูก>Next
>g]nvd Custom cadvanced
4.ไปที่ Drive options cadvanced>Delete>OK>Next>Appy>Format รอ
หน้าจอ Set up Window ใส่ชื่อ>Next>Next
5.เลือก Ask me later>Next>เลือก IT1,2 ใส่รหัส 0-9>Next เลือก Home Network รอ
>Skip หน้าจอปกติ คลิกขวา>Personalize>Cange desktop icon เลือก Desktop>OK

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ขอให้เข้าไปทำการ activate หรือลงทะเบียนการใช้งานแบบสมบูรณ์ ซึ่งต้องทำภายใน 30 วัน หลังจากติดตั้งแล้ว สามารถทำได้แบบออนไลน์ แค่คลิกเมนู start ไปที่ my computer คลิกขวา เลือก properties เลื่อนลงมาด้านล่างจะมีลิ้งค์ให้คลิก activate online

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ลักษณะของผึ้ง 5 ประการ

1.ขยันหากิน
2.บินไม่สูงนัก
3.รักความสะอาด
4.ฉลาดสะสม
5.นิยมสามัคคี

คติดีๆ : ถ้าเรามีนิสัยเหมือนผึ้งรับรองว่าในวันข้างหน้าและปัจจุบันแม้กระทั่งอนาคตของเราก็จะมีแต่สิ่งดี ๆนะค่ะอย่าลืมนะค่ะ

การทำภาพโลโม่แบบง่ายๆจ้า



1.เข้า File/Open เลือกรูปที่เราต้องการทำ
2.คลิกขวาที่ Background เลือก Duplicate Layer กด OK
3.เปลี่ยน Normal ให้เป็น Soft Light
4.สร้าง Layer อีก 1 Layer
5.เปลี่ยน Normal ให้เป็น Soft Light
6.ไปคลิก เลือก Rectangular/Marquee Tool
7.ลากให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยม
8.คลิกขวาที่รูปเลือก Select/Inverse
9.ไปเลือกที่ถังสีเลือกสีดำไปเทตรงขอบ
10.ไปคลิกขวาที่ เลือก แล้วคลิกขวาที่รูปเลือก Deselect

การทำกรอบภาพง่ายมากทีเดียวค่ะ



1. หากรอบรูปที่ต้องการ
2.เปิดกรอบรูปมาเพื่อตัด
3.ใช้เครื่องมือ Magic Wand tool เพื่อตัดกรอบรูปสีขาวให้เป็นช่องว่าง
4.ลากกรอบรูปไปใส่รูปตามที่ต้องการ
5.จากนั้นก็จะได้ภาพดังรูปค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การทำก้อนเมฆ



1.เข้า File/New ตั้งค่าเท่าไหร่ก็ได้
2.เปลี่ยนสีตรงแถบเครื่องมือตัวรองสุดท้าย เลือกสีตามใจเรา
3.เข้าแถบเครื่องมือด้านซ้ายเลือกpaint bucket Tool G คลิกแถบเครื่องมือด้านบนตัวที่ 2 คลิก เลือก Reset Gradients เลือกตัวแรก
4.ลากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งตามที่เราต้องการ
5.เปลี่ยน Background ให้เป็น Layer 0
6.สร้าง Layer ขึ้นมาอีก 1 Layer
7.เปลี่ยนสีตรงแถบเครื่อง เลือกสีตามใจเรา เปลี่ยนสีดำ,ขาว
8.เข้า Filter/Render เลือก Clouds
9.เข้า Filter/Render เลือก Difference Clouds
10.กด คอนโทรล F
11.กด คอนโทรล L เปลี่ยน ช่องแรก 30,1.00,100 กด OK
12.คลิกขวา Layer 1 เลือก Duplicate Layer กด OK
13.เข้า Filter/Stylize เลือก Extrude ตั้งค่าช่องแรก 2,30 คลิก Level-based กด OK
14.เปลี่ยน Normal เป็น Screen ทั้ง 2 Layer
15.เข้า Filter/Blur เลือก Gaussian Blur ตั้งเป็น 1.9 กด OK
16.เข้าแถบเครื่องมือด้านซ้ายตัวที่ 8 ภู่กัน คลิกขวาเลือก Eraser Tool E คลิกแถบเครื่องมือด้านบนช่อง 2 เปลี่ยนเป็น 9 pixel และเปลี่ยน Flow 10% แล้วคลิกตรงขอบก้อนเมฆ
17.เข้า Filter/Blur เลือก Gaussian Blur ตั้งเป็น 7 กด OK
18.แล้วเราก็ลากรูปมาใส่ เปลี่ยน Normal เป็น Screen

การทำฟองน้ำง่ายนิดเดียวค่ะ

1.ตั้งค่าหน้ากระดาษตามภาพจากนั้นก็เทสีเทา ลงพื้นหลัง




2.ต่อไปก็คลิ๊กที่แถบเมนูด้านบน เลือก Filter > Distort > Polar Coordinates และเลือก Polar to Rectangular จะได้รูปนี้



3.จากนั้นก็ปลดล็อค Background โดยการดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Layer Background

4. ไปที่เมนู Filter ---> Distort ---> Polar Coordinates... แล้วเลือก Polar to Rectangular

เมื่อทำตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ให้ Double Click ที่เลเยอร์ Background เพื่อให้เราสามารถแก้ไขเลเยอร์นั้นได้

5.จากนั้นให้เราไปที่แถบเมนูด้านบน เลือก Edit ---> Transform ---> Flip Virtical ก็จะได้รูปนี้

6.ไปที่เมนู Filter ---> Distort ---> Polar Coordinates เลือก Rectangular to Polar ก็จะได้ดังรูป



7.เมื่อได้รูปฟองอากาศแล้ว ให้ใช้เครื่องมือ Elliptical Marquee Tool โดยกด Shift ค้างไว้ด้วยขณะทำวงกลม ถ้าขนาด selection ไม่พอดี ให้ไปที่เมนู Select --> Transform Selection เพื่อปรับขนาด Selection ของวงกลมอีกครั้ง


8. เมื่อได้เส้น Selection ตามต้องการแล้ว ให้ไปที่เมนู Select ---> Inverse


ก็จะเป็นอย่งนี้นะค่ะ



แล้วกด Delect ส่วนที่ไม่ต้องการออก เพียงเท่านี้จะได้ฟองอากาศสำหรับนำไปใช้งานแล้วค่ะ


9.จากนั้นก็เปิดภาพที่เราต้องการมาอีก 1 ภาพนะค่ะ



แล้วก็ลากฟองน้ำไปใส่กับภาพ ถ้าต้องการหลายๆฟองก็กลับมาลากที่เดิมค่ะ


แล้วก็ปรับขนาดของฟองน้ำตามต้องการ


แล้วก็จะได้ภาพที่สวยงามค่ะ


การทำไฮไลท์สีผมจ้า



1.เลือกรูปที่ต้องการมา


2.สร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ อีก 1 เลเยอร์



3.เลือกสีตามต้องการ และเลือก ใช้เครื่องมือ Polygonal Lasso Tool




4.วาดแถบสีของเส้นผมที่ต้องการทำไฮไลท์ และใช้สีที่ต้องการเทลงไป กด ctrl+d เพื่อให้การ select หายไป

5.จากนั้นไปที่ Filter > Blur > Gaussian Blur




6.แล้วปรับค่า Radus เป็น 17.6 หรือลองปรับไปเรื่อยๆตามความเหมาะสม




7.แค่นี้เราก็จะได้สีผมไฮไลท์ตามที่ต้องการแล้ว




วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การทำภาพเบลอ

1.เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการเบลอจากนั้นกดCtrl+Jเพื่อก๊อปLayer



2.จากนั้นไปที่Fiter>Blur>Gaussian Blur


3.ปรับระดับภาพเบลอตามต้องการ

4.จะกดที่Add Vector Mask จะเห็นได้ว่าจะมีLayerซ้อนขึ้นมา

5.จากนั้นใช้เครื่องมือBrush Tool

6.ทำการสลับสีโดยกดxให้สีดำอยู่ด้านบน


7.ทำการBrushตรงที่เราไม่ต้องการเบลอ


1.การทำภาพซ้อน1.เลือกรูปที่ต้องการจะทำการซ้อน



2.ลากรูปที่ 2 มาซ้อนที่ Backgroud เดียวกัน



3.จากนั้นไปที่ Layer+Layer Mask+Reveal All





4.แล้วไปที่เครื่องมือ Gradient Tool เลือกสีขาวดำ



5.แล้วลากเพื่อจะให้ภาพได้ซ้อนกันตามต้องการ


การตัดภาพเพื่อทำ ภาพพื้นหลัง

1.เลือกภาพทที่ต้องการจะตกแต่ง




2.คลิก magnetic lasso tool เพื่อทำการตัดภาพ

3.เมื่อตัดภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปที่เครืองมือ Edit-Fill-จะขึ้นกล่องตั้งค่า แล้วก็


4.เปลี่ยน Use:Content Aware

5.ภาพที่เราตัดเสร็จ โดยภาพจะสมบูรณ์เหมือนเดิม

การทำภาพให้เป็นภาพวาด

1. เปิดรูปที่เราต้องการขึ้นมา



2. คัดลอกLayer มาอีกLayerหนึ่ง โดยการกด Ctrl+




3. คลิ๊ก Filter>>Stylize>>Find Edge

ปรับตาความเหมาะสม

4. ไปที่ Filter>>Blur>>Gaussian Blure


5. ปรับค่า Radius ที่ค่า2 %

จะไดภาพออกมาแบบนี้ค่ะ